“ ลูกคือปาฏิหาริย์
และของขวัญแห่งชีวิต

ที่เราสร้างได้ ”

Gina fertility studio

Blog

มาดูแลผิดกันเถอะ ฉบับคนท้อง

สำหรับคู่รักหลายๆคู่ที่ตอนนี้ที่กำลังเตียมตัวจะแต่งงาน ท่านอาจกำลังเตรียมเรื่องสถานที่ รูปแบบการจัดงาน เสื้อผ้า หน้า ผม เอาไว้แล้ว แต่สิ่งที่ห้ามลืมเด็ดขาด คือการเตรียมพร้อมด้านสุขภาพ รวมถึงการวางแผนที่จะมีครอบครัวที่สมบูรณ์ ซึ่ง ลูกจะเป็นส่วนเติมเต็ม ที่ทำให้ครอบครัวมีความสมบูรณ์ ดังนั้น การเตรียมพร้อมก่อนการแต่งงาน /อาจจะรวมถึงการวางแผนมีบุตร เป็นหนึ่งในการเตรียมความพร้อมที่ขาดไปเสียไม่ได้ แล้วในปัจจุบัน

วันนี้ จิน่าจึงรวบรวมสาระความรู้ มาให้คู่รักไม่ลืมเตรียมตัวก่อนแต่งงาน ง่ายๆ 6 ข้อดังนี้นะคะ

1. การดูแลรักษาโรคประจำตัวในผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่เดิม เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไทรอยด์ หรือโรคลมชัก ควรได้รับการรักษาและควบคุมอาการของโรคให้กลับมาอยู่ในสภาวะปกติ และมีร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์

2. การตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบบี ซิฟิลิส และ เอชไอวี ซึงรวมถึงการตรวจหาภูมิคุ้มกันโรคดังกล่าวด้วยเช่นกัน

3. การคัดกรองความเสี่ยงโรคพันธุกรรม ซึ่งโรคทางพันธุกรรมที่พบบ่อยในประเทศไทย ได้แก่ โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย สามารถตรวจคัดกรองได้จากการตรวจความเข้มเลือด ขนาดเม็ดเลือดแดง และการตรวจชนิดฮีโมโกลบินจากการตรวจเลือดของคู่สามี-ภรรยา นอกจากนี้ในรายที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคพันธุกรรมอื่นๆ เช่น มีประวัติโรคพันธุกรรมในครอบครัว หรือประวัติบุตรคนก่อนมีโรคพันธุกรรม อาจพิจารณาส่งตรวจโครโมโซมหรือยีนจำเพาะจากเลือดของคู่สามี-ภรรยาได้ เช่น G6PD, โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ SMA เป็นต้น

4. การให้วัคซีนป้องกันโรค เช่น วัคซีนบาดทะยัก วัคซีนคางทูม-หัด-หัดเยอรมัน (MMR) วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี(ในกรณีที่สามีหรือภรรยาเป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบี) และวัคซีนอื่นๆ ตามความจำเป็น

5. การให้โฟลิคเสริมก่อนการตั้งครรภ์ โดยทั่วไปแนะนำให้รับประทานโฟลิค 400-800 ไมโครกรัมต่อวัน ก่อนการตั้งครรภ์อย่างน้อย 1 เดือน จนตลอดการตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก แต่ในกรณีที่มีประวัติบุตรคนก่อนมีความผิดปกติของท่อประสาทและสมอง (neural tube defects) แนะนำให้รับประทานโฟลิคอย่างน้อย 4 มิลลิกรัมต่อวัน ก่อนการตั้งครรภ์อย่างน้อย 1 เดือน จนตลอดการตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก
** ปกติ โฟลิคที่มีขายตามร้านขายยาทั่วไป จะมีขนาดประมาณ 5 มิลลิกรัมต่อเม็ด **

6. การตรวจความแข็งแรง และความพร้อมระบบสืบพันธุ์  ได้แก่  การตรวจภายใน การตรวจมะเร็งปากมดลูก  รวมถึงการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อตรวจหาความผิดปกติของมดลูกและรังไข่  ในฝ่ายหญิง  และการตรวจความสมบูรณ์ของน้ำเชื้ออสุจิ ในฝายชาย เป็นต้น

การใส่ใจสุขภาพของตนเองและคู่รักเป็นเรื่องพื้นฐานที่จะทำให้เรามีครอบครัวที่สมบูรณ์แข็งแรง ถ้าเราทราบความพร้อมก่อนการสร้างครอบครัว จะทำให้เราสามารถมีครอบครัวที่สมบูรณ์ได้ในช่วงเวลาที่เหมาะสมได้นะคะ

5 แอปสำหรับคู่รัก อยากมีบุตร ที่ใช้งานง่าย และฟรี! อีกด้วยค่ะ

5 แอปสำหรับคู่รัก อยากมีบุตร ที่ใช้งานง่าย และฟรี! อีกด้วยค่ะ

ประจำเดือนรอบถัดไป มาประมาณวันไหนนะ ใกล้วันตกไข่รึยัง ช่วงนี้ร่างกายเรามีโอกาสตั้งครรภ์รึเปล่า การนับประจำเดือน หรือ วันตกไข่ เป็นอีกปัจจัยเสริมที่สำคัญ ที่จะช่วยให้แม่ๆ วางแผนการตั้งครรภ์ได้มากขึ้นค่ะ…

Read More
วิธีปฏิบัติตัวก่อนและหลังการกระตุ้นไข่และเก็บไข่ สำหรับการทำ ICSI

วิธีปฏิบัติตัวก่อนและหลังการกระตุ้นไข่และเก็บไข่ สำหรับการทำ ICSI

วันนี้ จีน่ามีคำแนะนำจากคุณหมอ..สำหรับคุณแม่(และคุณพ่อ)ที่กำลังเข้าสู่กระบวนการ ICSI วิธีปฏิบัติตัวก่อนและหลังการกระตุ้นไข่และเก็บไข่ ควรทำอย่างไรบ้าง …

Read More
5 วิตามิน ที่สำคัญสำหรับว่าที่คุณแม่มีอะไรบ้าง

5 วิตามิน ที่สำคัญสำหรับว่าที่คุณแม่มีอะไรบ้าง

จีน่าชวนว่าที่คุณแม่มาเสริมวิตามินดีๆก่อนตั้งครรภ์กันค่ะ เพราะอาหารเสริม หรือ วิตามิน เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ว่าที่คุณแม่เตรียมความพร้อมของร่างกายต้อนรับลูกน้อย…

Read More