7 ข้อเตรียมความพร้อมก่อนเป็นคุณแม่
” 7 ข้อ เตรียมความพร้อมก่อนเป็นคุณแม่ ”
- ตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์
- เสริมกรดโฟลิกก่อนตั้งครรภ์
- เรียนรู้วงจรการตกไข่
- ควบคุมน้ำหนัก
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ควรงดยาบางชนิด ที่มีผลต่อการตั้งครรภ์
- งดดื่มสุรา งดสูบบุหรี่ก่อนที่จะตั้งครรภ์
ไม่ยากเลยใช่ไหมค่ะ ง่ายๆคือถ้าคุณพ่อคุณแม่มีสุขภาพที่แข็งแรง
เราก็พร้อมจะมีลูกน้อยที่แข็งแรงเช่นกันค่ะ
1. ตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์
เพื่อให้ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ได้รู้ภาวะสุขภาพของตนเองรวมถึงโรคทางพันธุกรรมที่อาจส่งผลต่อลูก เช่น ธาลัสซีเมีย โรคเบาหวาน รวมถึงตรวจหาเชื้อโรคที่เป็นพาหะแอบแฝงอยู่ในร่างกาย เช่น เชื้อซิฟิลิส เชื้อไวรัสตับอักเสบบี เชื้อเอชไอวี ซึ่งสามารถส่งผ่านรกไปยังทารกในครรภ์ได้
2. เสริมกรดโฟลิกก่อนตั้งครรภ์
วิตามินโฟลิกเป็นวิตามินที่ช่วยในเรื่องการสร้างและแบ่งเซลล์ในตัวอ่อนให้สมบูรณ์ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงความพิการแต่กำเนิดได้ โดยคุณแม่ที่วางแผนตั้งครรภ์ควรได้รับโฟลิคเสริม 400 ไมโครกรัมต่อวัน ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ 1-3 เดือน นอกจากนี้คุณแม่ยังสามารถได้รับโฟลิกเสริมจากอาหาร เช่น ผักใบเขียว ที่สำคัญอย่าลืมทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทั้ง 5 หมู่
3. เรียนรู้วงจรการตกไข่
การคำนวณเพื่อหาวันตกไข่ของผู้หญิง มีส่วนช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้มากขึ้น ซึ่งร่างกายผู้หญิงนั้นจะมีการตกไข่เพียงเดือนละ 1 ครั้ง โดยวิธีการดูวันไหนเป็นวันตกไข่มีหลายวิธี ได้แก่ การนับวัน โดยการบันทึกรอบประจำเดือนอย่างน้อยสองเดือนว่าประจำเดือนเริ่มมาในวันที่เท่าไร หลังจากนั้นให้นับระยะห่างระหว่างรอบประจำเดือนทั้งสอง มาลบด้วย 14 เช่น ถ้าระยะห่างระหว่างสองเดือนที่ผ่านมาคือ 28 วัน ให้นำ 28-14 จะได้เป็น 14 ดังนั้นไข่จะตกในวันที่ 14 ของเดือนถัดไปบวกลบประมาณ 1 วัน เพราะไข่จะมีอายุประมาณ 24-48 ชั่วโมง หรือในปัจจุบันนี้ก็มี application หลากหลายในมือถือที่สามารถเป็นตัวช่วยในการคำนวณวันตกไข่ได้
4. ควบคุมน้ำหนัก
คุณแม่ที่เตรียมตัวจะตั้งครรภ์ควรจะมีการควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม โดยทั่วไปเราจะดูความเหมาะสมของค่า BMI หรือที่เราเรียกว่า “ดัชนีมวลกาย หรือ BMI (Body Mass Index)” ซึ่งสามารถคำนวณง่ายได้ โดย BMI = น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม / ส่วนสูงเป็นเมตร x ส่วนสูงเป็นเมตร ตัวอย่างเช่น ตัวอย่างเช่น น้ำหนัก 65 กิโลกรัม ส่วนสูง 160 เซ็นติเมตร ค่า BMI จะคิดจาก 65/1.6×1.6 หรือ เท่ากับ 25.40
โดยมาตรฐานBMI ของคนเอเชียอยู่ระหว่าง 18.5-22.9
5. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอโดยเฉลี่ย 15-30 นาทีต่อวัน สัปดาห์ละ 3-5 วัน และไม่หักโหมจนเกินไป เช่นการเดิน ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิก การเล่นโยคะ ซึ่งการออกกำลังกายจะส่งผลดี ทั้งช่วยควบคุมน้ำหนักไม่ให้ขึ้นมากเกินในระหว่างตั้งครรภ์ ป้องกันภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และยังช่วยให้คุณแม่คลอดง่ายขึ้น
6. ควรงดยาบางชนิด ที่มีผลต่อการตังครรภ์
ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ควรแจ้งแพทย์ทุกครั้งว่ามีโรคประจำตัวหรือไม่ ทานยาตัวใดอยู่บ้าง เนื่องจากยาบางชนิดอาจส่งผลเสียต่อทารกได้
7. งดดื่มสุรา งดสูบบุหรี่ ก่อนที่จะตั้งครรภ์
เนื่องจากทั้งแอลกอฮอล์และสารในบุหรี่เป็นสาเหตุทำให้ทารกมีน้ำหนักตัวน้อย ทารกมีพัฒาการที่ช้า และอาจส่งผลให้เด็กพิการแต่กำเนิดได้