“ ลูกคือปาฏิหาริย์
และของขวัญแห่งชีวิต

ที่เราสร้างได้ ”

Gina fertility studio

Our Service

การผสมเทียมหรือฉีดเชื้อ

( Intrauterine insemination, IUI )

เก็บอสุจิจากอัณฑะ

( Testicular Sperm Extraction, TESE )

เด็กหลอดแก้ว IVF

( In Vitro fertilization )

อิกซี่ ICSI

(Intra Cytoplasmic Sperm Injection)

การแช่แข็งไข่ อสุจิ ตัวอ่อน

( Oocyte/Sperm/
Embryo Cryopreservation )

การตรวจพันธุกรรมตัวอ่อน

( Pre-implantation Genetic Testing,
PGT )

การแช่แข็งไข่ อสุจิ ตัวอ่อน

( Oocyte/Sperm/Embryo Cryopreservation )

การย้ายตัวอ่อน (Embryo transfer: ET)

การย้ายตัวอ่อนคือการนำตัวอ่อนที่เจริญเติบโตในห้องปฏิบัติการจนถึงอายุวันที่ต้องการและมีคุณภาพดี ย้ายกลับเข้าสู่โพรงมดลูกฝ่ายหญิง โดยเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วในรอบนั้นๆ โดยการย้ายตัวอ่อนสามารถทำได้ 2 รูปแบบคือ

  1. Fresh Embryo Transfer (Fresh ET) คือการย้ายตัวอ่อน กลับเข้าสู่โพรงมดลูกในรอบเดียวกับการเก็บไข่ โดยมากจะย้ายกลับภายหลังการเก็บไข่ประมาณ 3-5 วัน แพทย์จะพิจารณาเลือกการย้ายตัวอ่อนด้วยวิธีนี้ต่อเมื่อคู่สมรสได้ตัวอ่อนจำนวนไม่มาก ประกอบกับ คุณภาพตัวอ่อนอาจไม่แข็งแรงสำหรับกระบวนการแช่แข็ง รายที่เหมาะสมที่จะย้ายตัวอ่อนด้วยวิธีนี้ ผนังเยื่อบุโพรงมดลูกในวันที่จะย้ายตัวอ่อน ต้องมีความหนาที่เหมาะสมและมีคุณภาพดี ที่จะย้ายตัวอ่อนในรอบเดียวกันนี้ได้
  2. Frozen-Thaw Embryo Transfer (FET) คือการย้ายตัวอ่อนที่ผ่านกระบวนการแช่แข็งและละลายตัวอ่อน เข้าสู่โพรงมดลูกของฝ่ายหญิง ภายหลังจากการเตรียมผนังเยื่อบุโพรงมดลูก โดยแพทย์จะพิจารณาย้ายตัวอ่อนด้วยวิธีนี้ ในคู่สมรสได้ตัวอ่อนที่มีคุณภาพดี มีจำนวนไข่ที่ถูกกระตุ้นได้ใน 1 รอบ มีปริมาณมากเกินไปมีความเสี่ยงต่อภาวะไข่กระตุ้นเกิน (Ovarian Hyperstimulation Syndrome, OHSS)ถ้าตั้งครรภ์ หรือ ผนังเยื่อบุโพรงมดลูกบางหรือมีคุณภาพไม่เหมาะแก่การย้ายตัวอ่อนในรอบสด การเลือกย้ายตัวอ่อนด้วยวิธีนี้ แพทย์จะพิจารณาเลือกให้เหมาะสมเป็นรายๆไป

การแช่แข็งไข่ (Oocyte freezing)

การนำเซลล์ไข่ที่ได้เก็บได้จากกระตุ้นไข่ ออกมาภายนอกร่างกาย และนำไปแช่แข็งไว้ โดยยังไม่ได้ผ่านกระบวนการปฏิสนธิกับอสุจิ โดยมุ่งหวังไว้ว่าสามารถนำมาใช้เพื่อปฏิสนธิกับตัวอสุจิในอนาคตได้ โดยผู้ที่จะฝากไข่หรือแช่แข็งไข่ จะต้องมีเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

  1. การเก็บแช่แข็งไข่ของตนเอง ก่อนการแต่งงาน โดยมีวัตถุประสงค์ในการนำไปปฏิสนธิกับอสุจิของสามีที่ชอบด้วยกฎหมายในอนาคต
  2. การเก็บแช่แข็งไข่ของตนเองก่อนการได้รับการรักษาโรคด้วยยาที่จะทำลายเซลล์สืบพันธุ์ หรือเซลล์ไข่ ได้แก่ เคมีบำบัด หรือ การฉายรังสี

ในปัจจุบัน การแช่แข็งไข่นี้ เป็นที่นิยมกันมากขึ้น เนื่องจากผู้หญิงในยุคใหม่หรือวัยทำงาน มีแนวโน้มที่จะแต่งงานหรือมีบุตรเมื่อมีความพร้อม ซึ่งมักจะมีอายุที่มากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะมีบุตรยาก หรือ ภาวะรังไข่เสื่อมได้มากขึ้น การแช่แข็งไข่นี้ เหมือนเป็นการหยุดอายุไข่ไว้เท่ากับอายุตอนที่เก็บไข่ ไม่ให้มากตามการเวลาที่เปลี่ยนไป ทั้งนี้ความคงทนของไข่หรือคุณภาพของไข่หลังการแช่แข็งจะขึ้นกับคุณภาพของไข่ก่อนการแช่แช็งและอายุของฝ่ายหญิงในวันที่เก็บไข่ เมื่อถึงเวลาละลายไข่ที่ได้รับการแช่แข็งไว้ออกมาปฏิสนธิกับตัวอสุจิของสามีอาจจะพัฒนากลายเป็นตัวอ่อน ที่มีจำนวนน้อยกว่าการแช่แข็งตัวอ่อน

ขั้นตอนของการแช่แข็งไข่ เหมือนกับกระบวนการกระตุ้นไข่เพื่อทำเด็กหลอดแก้ว แต่ทำการแช่แข็งไข่โดยไม่ปฎิสนธิ โดยผู้ที่ต้องการฝากไข่จะต้องเข้ารับการตรวจร่างกายและตรวจเลือดเพื่อประเมินเบื้องต้น ถ้าไม่มีโรคประจำตัวที่เป็นข้อห้าม จะสามารถดำเนินการกระตุ้นไข่ต่อไปได้ เมื่อถึงขั้นตอนการเก็บไข่ออกมาภายนอกร่างกาย ไข่จะถูกนำไปเลี้ยงในน้ำยาเลี้ยงไข่และทำการแช่แข็งในห้องปฏิบัติการณ์ที่มีอุณหภูมิและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อไปจนกว่าจะถึงเวลาละลายออกมาใช้งาน