“ ลูกคือปาฏิหาริย์
และของขวัญแห่งชีวิต

ที่เราสร้างได้ ”

Gina fertility studio

Our Service

การผสมเทียมหรือฉีดเชื้อ

( Intrauterine insemination, IUI )

เก็บอสุจิจากอัณฑะ

( Testicular Sperm Extraction, TESE )

เด็กหลอดแก้ว IVF

( In Vitro fertilization )

อิกซี่ ICSI

(Intra Cytoplasmic Sperm Injection)

การแช่แข็งไข่ อสุจิ ตัวอ่อน

( Oocyte/Sperm/
Embryo Cryopreservation )

การตรวจพันธุกรรมตัวอ่อน

( Pre-implantation Genetic Testing,
PGT )

การตรวจพันธุกรรมตัวอ่อน

( Pre-implantation Genetic Testing, PGT )

การตรวจพันธุกรรมตัวอ่อน คือการตรวจหาโครโมโซมหรือสารพันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนที่จะทำการย้ายหกลับเข้าสู่โพรงมดลูกของฝ่ายหญิง ทำให้สามารถทราบภาวะผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อนล่วงหน้า และ ทำการย้ายตัวอ่อนที่ปราศจากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เกิดโรคเข้ากลับโพรงมดลูกของฝ่ายหญิงได้ การตรวจพันธุกรรมตัวอ่อน สามารถแบ่งได้เป็นการตรวจพันธุกรรมตัวอ่อนเพื่อดูจำนวนแท่งของโครโมโซมขาดหรือเกิน (Preimplantation Genetic Testing for Aneuploidy: PGT-A) และการการตรวจพันธุกรรมตัวอ่อนเพื่อดูความผิดปกติของยีนในตัวอ่อน (Preimplantation Genetic Testing for Mutation: PGT-M)

การตรวจวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมในตัวอ่อนอาจทำได้ในกรณีต่อไปนี้

  1. ฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงคนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองคนมีประวัติโรคทางพันธุกรรมที่ผิดปกติซึ่งอาจถ่ายทอดไปสู่ลูกได้ โดยการถ่ายทอดนั้นมีความเสี่ยงชัดเจนว่าอาจเป็นเหตุทำให้ลูกที่เกิดขึ้นไม่อาจมีชีวิตรอดหรือมีผิดปกติได้
  2. ฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงที่ไม่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม อาจทำการตรวจพันธุกรรมตัวอ่อนได้ในกรณีต่อไปนี้
    1. มีประวัติการตั้งครรภ์ที่ทารกมีความผิดปกติทางพันธุกรรมรุนแรงและความผิดปกตินั้นอาจป้องกันได้ด้วยการตรวจคัดกรองพันธุกรรมของตัวอ่อน
    2. มีบุตรที่ป่วยเป็นโรคซึ่งอาจรักษาได้ด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจากบุตรคนอื่นที่มีความเข้ากันได้ของเนื้อเยื่อ (HLA Matching) กับบุตรคนที่เป็นโรค
      ซึ่งการตรวจ HLA ของตัวอ่อนก่อนย้ายตัวอ่อน จะเป็นประโยชน์ โดยการตั้งครรภ์จากตัวอ่อนนี้ สามารถที่นำเซลล์ต้นกำเนิดจากเลือดในสายสะดือเด็กแรกคลอดนำไปใช้รักษาบุตรคนที่ป่วยและมีเนื้อเยื่อที่เข้ากันได้
    3. มีประวัติการแท้งบุตรก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ตั้งแต่ 2-3 ครั้งขึ้นไป หรือในกรณีที่มีผลการตรวจยืนยันว่าการแท้งในครั้งก่อนมีสาเหตุมาจากทารกมีความผิดปกติทางพันธุกรรม
    4. ฝ่ายหญิงมีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป และ มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ว่าตัวอ่อนอาจมีความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางพันธุกรรม
    5. ไม่ตั้งครรภ์ 2 ครั้งติดต่อกันหลังจากได้รับการรักษาด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์

ขั้นตอนการตรวจพันธุกรรมตัวอ่อน

ขั้นตอนแรกเหมือนกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วทุกประการ โดยเริ่มต้นกระตุ้นไข่จนถึงระยะเตรียมปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนโดยทั่วไป จากนั้น เลี้ยงตัวอ่อนถึงระยะของที่เหมาะสมสำหรับการแยกเอาเซลล์ออกมาตรวจวินิจฉัยทางพันธุกรรมนั้นมี 3 ระยะ ได้แก่

  1. เซลล์ไข่ก่อนการปฏิสนธิ หรือตัวอ่อนในระยะปฏิสนธิก่อนการแบ่งตัว โดยการแยกเอาส่วน Polar Body ของเซลล์ไข่ หรือตัวอ่อนในระยะปฏิสนธิก่อนการแบ่งตัวออกมาสำหรับตรวจทางพันธุกรรม
  2. ตัวอ่อนแบ่งตัวในระยะ วันที่ 3 หลังการปฏิสนธิ (Clevage Stage)
  3. ตัวอ่อนแบ่งตัวในระยะ วันที่ 5 หรือ ระยะบลาสโตซิสต์ (Blastocyst Stage)

ส่วนใหญ่ แพทย์มักตรวจตัวอ่อนในระยะบลาสโตซิสต์ เนื่องจากมีจำนวนเซลล์มากพอที่จะดึงออกไปตรวจได้โดยจะกระทบกับการเจริญเติบโตของตัวอ่อนน้อยที่สุด และอาจจะพบความแตกต่างของสารพันธุกรรมในแต่เซลล์ที่ไม่เหมือนกันได้ หรือเรียกว่า Mosaicism หลังจากได้ตัวอ่อนที่เลี้ยงจนถึงระยะที่ตัวอ่อนแบ่งเซลล์มีจำนวนเซลล์ที่รกมากพอ ซึ่งมักเป็นระยะวันที่ 3-5 หลังปฏิสนธิแล้ว จะจึงทำการดูดเซลล์ของตัวอ่อนแต่ละตัวออกมาภายใต้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยายระดับสูงและส่งตรวจทางพันธุศาสตร์เพื่อระบุสถานะของตัวอ่อนว่าปกติหรือไม่ จากนั้นจึงเลือกตัวอ่อนที่ไม่เป็นโรค ย้ายกลับเข้าสู่โพรงมดลูกเพื่อให้ก่อให้เกิดการฝังตัวและตั้งครรภ์ต่อไปได้ ในปัจจุบัน ข้อมูลของทารกที่เกิดจากวิธีดังกล่าวทั่วโลกมีจำนวนมากและพัฒนาการปกติ จึงเป็นที่ยอมรับกันว่าทารกที่ผ่านการตรวจทางพันธุกรรมนี้ หลังคลอดจะไม่มีความแตกต่างจากทารกที่มาจากการตั้งครรภ์โดยธรรมชาติ ดังนั้นการตรวจดังกล่าวจึงเป็นการตรวจพันธุกรรมของเซลล์ที่คัดกรองโรคและเซลล์ที่ได้รับการเป็นเสมือนเพียงตัวแทนของเซลล์ทั้งหมดของตัวอ่อน เนื่องจากการตรวจนี้ มีความละเอียดอ่อนและยุ่งยากกว่าการตรวจพันธุกรรมจากเลือดหรือเนื้อเยื่ออื่นๆเพราะปริมาณสารพันธุกรรมใน 1 เซลล์นั้น มีจำนวนน้อยมาก การตรวจจึงต้องอาศัยความละเอียดสูงใช้เวลา และ อยู่ในมือของแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ที่มีประสบการณ์สูง เพื่อให้เกิดความถูกต้องแม่นยำและรบกวนตัวอ่อนน้อยที่สุด

เทคนิคการตรวจพันธุกรรมตัวอ่อน

ในปัจจุบันการตรวจพันธุกรรมตัวอ่อนนั้นสามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นกับภาวะผิดปกติของพันธุกรรมว่าเป็นโรคทางยีนเดี่ยว หรือ เป็นโรคที่เกิดจากแท่งโครโมโซมที่มีจำนวน ขาด เกิน หรือ ผิดปกติ แต่ละวิธีจะมีความซับซ้อน และความถูกต้องแม่นยำในการวินิจฉัย ต่างกัน วิธีต่างๆได้แก่

  1. Fluorescence Insitu hybridization (FISH) คือกระบวนการย้อมสารติดสีสะท้อนแสงฟลูโอเรสเซนต์ โดยจะจับตำแหน่งที่โครโมโซมเป้าหมายในแต่ละแท่ง ทำให้ทราบจำนวน แท่งของคู่โครโมโซมเป้าหมาย มีจำนวนขาด หรือ เกิน ได้แก่ โครโมโซมคู่ที่ 13, 18, 21, X และ Y เป็นต้น วิธีดังกล่าว ราคาถูก มีความแม่นยำระดับหนึ่ง แต่มีข้อเสียเปรียบคือไม่ได้ตรวจสารพันธุกรรมตัวอ่อนทุกคู่ จึงถูกนำมาใช้ในการตรวจคัดกรองตัวอ่อนลดลง
  2. Comparative Genomic Hybridization (CGH) เป็นเทคนิคการตรวจพันธุกรรมตัวอ่อนโดยการตรวจโครโมโซมทั้ง 23 คู่ โดยผ่านกระบวนการ เพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมตัวอ่อน (Whole Genome Amplification (WGA) และนำไปตรวจหาสารพันธุกรรมเป้าหมาย โดยการติดฉลากสารพันธุกรรมตัวอ่อนที่ต้องการตรวจและสารพันธุกรรมที่มาตรฐานสำหรับเปรียบเทียบด้วยสารเรืองแสงที่มีสีแตกต่างกัน จากนั้นนำมาทำปฏิกิริยากันและแปลผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จะสามารถบอกได้ว่า ตัวอ่อนนั้นมีโครโมโซมขาดหรือเกิน (Aneuploidy) มีภาวะการเรียงตัวผิดปกติของโครโมโซมที่ไม่สมดุล (Unbalanced Translocation) หรือมีการขาดหายหรือเพิ่มเกินบางส่วนของโครโมโซมหรือไม่ (Chromosome Deletion or Duplication) แต่ข้อจำกัดของวิธีนี้ ได้แก่ ไม่สามารถตรวจความผิดปกติของแท่งโครโมโซมที่มีจำนวนโดยรวมครบ หรือสมดุล (Balanced Translocation) หรือการหมุนกลับของชิ้นส่วนโครโมโซม (Inversion) ได้ เนื่องจากความผิดปกติดังกล่าวไม่ได้ทำให้ปริมาณสารพันธุกรรมแตกต่างไปจากสารพันธุกรรม มาตรฐานที่ใช้เปรียบเทียบ วิธีนี้ใช้เวลาในการตรวจประมาณ 24-72 ชั่วโมง
  3. Next Generation Sequencing (NGS) เป็นเทคนิคที่นิยมใช้ปัจจุบัน โดยเป็นการตรวจหาชนิดและลำดับของสารพันธุกรรมตัวอ่อน (Sequencing) ซึ่งสามารถตรวจความผิดปกติของโครโมโซมได้ถึงในลำดับเบสซึ่งเป็นส่วนประกอบที่เล็กที่สุดของโครโมโซม ทำให้มีความแม่นยำได้สูงขึ้น วิธีนี้ มีข้อดีคือ สามารถตรวจความผิด ปกติของโครโมโซมได้ทั้ง 24 โครโมโซม โดยให้ข้อมูลที่มีความละเอียดสูงและมีความถูกต้องแม่นยำสูงมากถึง 99.9% ใช้เวลาไม่นาน แต่ยังมีข้อจำกัดคือ ไม่สามารถตรวจโรคที่เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนเดี่ยว (Single Gene Disorder) ภาวะการปนกันของเซลล์ที่ปกติและเซลล์ที่ผิดปกติ (Mosaicism) ในระดับต่ำๆ หรือ ภาวะการซ้ำของชุดโครโมโซม (Polyploidy) และการขาดหรือเกินของชิ้นส่วนสารพันธุกรรมในโครโมโซมที่มีขนาดเล็กกว่าความสามารถของวิธีการตรวจได้ เช่น การขาดหรือเกินที่ของชิ้นส่วนโครโมโซมที่มีขนาดเล็กกว่า 10 เมกกะเบส เป็นต้น

แนวทางการดูแลรักษาสำหรับคู่สมรสที่มารักษาที่ Genesis Fertility Studio ทางคณะแพทย์ จะได้มีการให้ข้อมูลแนวทางการรักษาและเลือกวิธีรักษา ที่ เหมาะสมในแต่ละคู่ (Individualization) โดยอิงตามข้อมูลทางการแพทย์และข้อบ่งชี้ในปัจจุบัน (Medical Indication) เพื่อให้การรักษาที่ได้รับ มีความเหมาะสม แม่นยำ เสียเวลาและ ค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมในแต่ละคู่ ทางคลินิกจึงมั่นใจได้ว่า ท่านได้รับการดูแลด้วยวิธีการและเทคนิคที่ดีที่สุดที่มีอยู่ในปัจจุบันและมีการนำเทคนิคที่ได้รับการรับรองใหม่เข้ามาเสมอ

ข้อจำกัดของการตรวจวินิจฉัยทางพันธุกรรมก่อนการฝังตัวอ่อน

การตรวจพันธุกรรมตัวอ่อนยังมีข้อจำกัดในเรื่องความแม่นยำของผลการตรวจ โดยมีความแม่นยำสูงถึง 95-99% แต่ในปัจจุบัน วิธีนี้ ยังไม่สามารถทดแทนการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติทางพันธุกรรมก่อนคลอดได้ ดังนั้นถึงแม้ว่าจะได้ตรวจวินิจฉัยทางพันธุกรรมก่อนการฝังตัวอ่อนแล้ว พบว่าปกติ ก็ยังแนะนำให้มีการตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดเหมือนเป็นการตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ นอกจากนั้นคู่สมรสควรได้รับทราบถึงโอกาสที่จะได้ตัวอ่อนที่เหมาะสมสำหรับการย้าย เนื่องจากสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก มีความแตกต่างกันในแต่ละคู่ และมีคุณภาพของเซลล์สืบพันธุ์ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงที่แตกต่างกันในแต่ละคู่ โอกาสการตรวจวินิจฉัยทางพันธุกรรมก่อนการฝังตัวอ่อนที่ได้ตัวอ่อนที่มีความปกติครบถ้วน อาจจะได้จำนวนตัวอ่อนที่ปกติมีจำนวนน้อย หรือ ได้จำนวนตัวอ่อนทีปกติแตกต่างกันในแต่ละรอบกระตุ้น โดยเฉพาะ ในรายที่ตรวจคัดกรองโรคที่ผิดปกติจาก ยีนเดี่ยว เช่นภาวะโลหิตจางธาลัสซีเมียร่วมกับการตรวจ HLA ที่เข้ากันได้กับบุตรที่เป็นโรค เป็นต้น ดังนั้นคู่สมรสอาจต้องได้รับการโดยการกระตุ้นไข่ เพื่อให้มีจำนวนตัวอ่อนที่เหมาะสมและเพียงพอสำหรับการคัดกรองโรคและสำหรับการตั้งครรภ์