“ ลูกคือปาฏิหาริย์
และของขวัญแห่งชีวิต
ที่เราสร้างได้ ”

Gina fertility studio

Our Service

การผสมเทียมหรือฉีดเชื้อ

( Intrauterine insemination, IUI )

เก็บอสุจิจากอัณฑะ

( Testicular Sperm Extraction, TESE )

เด็กหลอดแก้ว IVF

( In Vitro fertilization )

อิกซี่ ICSI

( Intra Cytoplasmic Sperm Injection )

การแช่แข็งไข่ อสุจิ ตัวอ่อน

( Oocyte/Sperm/
Embryo Cryopreservation )

การตรวจพันธุกรรมตัวอ่อน

( Pre-implantation Genetic Testing,
PGT )

เด็กหลอดแก้ว IVF

( In Vitro fertilization )

In Vitro Fertilization (IVF) คือ การนำเซลล์ไข่และตัวอสุจิเลี้ยงในหลอดทดลองหรือจานเพาะตัวอ่อนเพื่อให้ปฏิสนธิภายนอกร่างกาย เลี้ยงในตู้ความคุมสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมจนมีการเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนในระยะที่เหมาะสม ก่อนจะ นำตัวอ่อนที่ได้ย้ายกลับเข้าไปฝังในโพรงมดลูกฝ่ายหญิง

Intracytoplasmic Sperm Injection (ICSI) คือ การทำเด็กหลอดแก้ว หรือ In Vitro Fertilization (IVF) แต่ทำการปฎิสนธิ โดยการฉีดตัวอสุจิ 1 ตัว เข้าสู่เซลล๋ไข่โดยตรง ภายใต้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูง เพื่อเพิ่มโอกาสในการปฎิสนธิเป็นตัวอ่อน โดยมักใช้ในกรณีที่ฝ่ายชายมีความผิดปกติของอสุจิชนิดรุนแรง ได้แก่ ตัวอสุจที่ได้จากการผ่าตัดจากเนื้ออัณฑะ รวมถึงในรายที่ต้องตรวจพันธุกรรมตัวอ่อน (PGT,Pre implantation Genetic testing)

คู่สมรสที่ควรรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยวิธีการทำเด็กหลอดแก้ว

  1. ฝ่ายหญิงมีภาวะท่อนำไข่ตีบตันทั้งสองข้าง
  2. ฝ่ายหญิงมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ค่อนข้างรุนแรง หรือมีประวัติพังผืด ได้แก่ ประวัติติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน ทำให้มดลูกและท่อนำไข่ผิดรูป
  3. ฝ่ายหญิงมีการทำงานของรังไข่ผิดปกติที่ไม่ประสบความสำเร็จจากการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ เช่น ภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง หรือโรคถุงน้ำรังไข่ (PCOS) ภาวะรังไข่เสื่อม เป็นต้น
  4. ฝ่ายหญิงมีอายุค่อนข้างมาก (มากกว่า 40 ปีขึ้นไป) ซึ่งมีโอกาสสำเร็จจากการรักษาด้วยวิธีอื่นต่ำ
  5. ฝ่ายชายมีจำนวนตัวอสุจิน้อย รูปร่างหรือการเคลื่อนไหวของตัวอสุจิผิดปกติ หรือไม่มีตัวอสุจิจากการหลั่งน้ำเชื้อ
  6. คู่สมรสที่ไม่ทราบสาเหตุของภาวะมีบุตรยากที่ชัดเจน หลังจากตรวจคัดกรองเบื้องต้นมาก่อน
  7. คู่สมรสที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีการผสมเทียมอย่างเต็มที่แล้วแต่ยังไม่สามารถตั้งครรภ์

ขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้ว

  1. ฝ่ายหญิงมาพบแพทย์ภายใน 1-3 วันแรกของประจำเดือน เพื่อคัดกรองเบื้องต้น ตรวจฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองและฮฮร์โมนรังไข่ ตรวจอัลตราซาวด์หรือตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อประเมินมดลูก รังไข่ และวัดจำนวนไข่ตั้งต้น
  2. ฝ่ายหญิงได้รับยาฉีดกระตุ้นไข่เข้าใต้ผิวหนังในปริมาณที่เหมาะสมที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล เพื่อให้มีฟองไข่โตในจำนวนและขนาดที่เหมาะสม ประมาณ 8-12 วันและจะได้รับยาฉีดกันไข่ตกร่วมด้วยในช่วงท้ายของการกระตุ้นไข่
  3. ระหว่างได้รับยาฉีดกระตุ้นไข่ ฝ่ายหญิงจะได้รับการตรวจวัดขนาดไข่ด้วยการตรวจอัลตราซาวด์เป็นระยะ เพื่อให้แน่ใจว่าฟองไข่โตตามเกณฑที่กำหนด และอาจจะมีการเจาะเลือดในบางรายเพื่อติดตามระดับฮอร์โมน โดยแพทย์จะนัดตรวจติดตามทั้งหมดประมาณ 2-3 ครั้งในช่วงกระตุ้นไข่
  4. เมื่อมีฟองไข่ในรังไข่ ส่วนใหญ่โตได้ขนาดที่เหมาะสม หรือ มากกว่า 18-20 มิลลิเมตรฝ่ายหญิงจะได้รับยาฉีดยากระตุ้นไข่ตก และนัดวันมาเก็บไข่ผ่านทางช่องคลอดหลังจากฉีดยากระตุ้นไข่ตก 34-36 ชั่วโมง
  5. ในวันที่นัดเก็บไข่ ฝ่ายชายมาพร้อมฝ่ายหญิงเพื่อมาเก็บน้ำเชื้ออสุจิโดยงดหลั่งน้ำเชื้อมาเป็นเวลา 3-5 วัน ก่อนวันนัดเก็บไข่
  6. หลังกระบวนการเก็บไข่ เซลล์ไข่และตัวอสุจิจะถูกนำไปปฏิสนธิ และเลี้ยงจนเป็นตัวอ่อน ที่เจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนคุณภาพดีภายในห้องปฏิบัติการ
  7. การย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูก ฝ่ายหญิงมานัดมารับการย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูก หลังการเก็บไข่ประมาณ 3-5 วัน (ในกรณีที่ย้ายในรอบกระตุ้นไข่ เรียกว่า ย้ายตัวอ่อนในรอบกระตุ้นไข่ หรือ รอบสด)
  8. ในบางกรณี แพทย์แนะนำให้แช่แข็งตัวอ่อนไว้ก่อน เช่น จำนวนไข่ที่เก็บได้ใน1รอบมากเกินไป ผนังมดลูกไม่เหมาะแก่การย้ายตัวอ่อน เป็นต้น แพทย์จะนัดฝ่ายหญิงมาตรวจติดตาม ในช่วงวันที่ 1-2 ของประจำเดือนในรอบถัดไป เพื่อตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงประเมินมดลูกและรังไข่ และรับยาเพื่อเตรียมผนังเยื่อบุโพรงมดลูกให้พร้อมก่อนย้ายตัวอ่อน (เรียกว่า ย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็ง)
  9. หลังใส่ตัวอ่อนกลับเข้าโพรงมดลูกประมาณ 14 วัน ฝ่ายหญิงจะนัดมารับตรวจเลือดประเมินระดับฮอร์โมนการตั้งครรภ์